ฤกษ์งามยามดี มาไขข้อสงสัยของไอ้ต้นสมุนไพร ที่มีชื่อเรียกว่า " ตำแยแมว " สำหรับเจ้าเหมียวกันดี
กว่า บางคนไปเห็นมา แล้วสงสัยว่ามันใช่ตำแยแมวที่เจ้าเหมียวโปรดปรานหรือเปล่า ก่อนอื่นเลยเรามารู้จักเจ้าตำแยแมวอย่างเป็นทางการก่อน อาจจะวิชาการนิดนึง แต่ก็รู้ไว้ใช่ว่า...
สำหรับสมุนไพรตำแยแมวมี 2 ชนิด ชนิดใบกลมเรียกว่าตำแยแมวตัวเมีย ใบแหลมเรียกตำแยแมวตัวผู้ ที่นิยมนำมาเป็นยาคือสมุนไพรตำแยแมวตัวเมีย
ชื่ออื่น ๆ : ตำแยตัวผู้,ตำแยตัวเมีย, ตำแยแมว, ตำแยป่า, หญ้าแมว, หญ้ายาแมว, หานแมว, ลังตาไก่, อเนกคุณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acalypha indica Linn.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE.
ลักษณะต้นและใบ : ตำแยแมวเป็นไม้เล็ก ๆ จำพวกต้นหญ้า ต้นสูงประมาณ 2 ฟุตเศษ ๆ ลำต้นตรง
ใบกลมโต ปลายใบแหลมเล็กน้อย มีจักเล็ก ๆ ตามริมใบโตกว่าใบพุทรานิดหน่อย
มีดอกออกตามต้น ดอกเป็นดอกช่อ ส่วนยอดของช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย มีใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน
มีขนปกคลุม แต่ละใบประดับหุ้มห่อดอก 2-6 ดอก ผลแห้งแตกได้ ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ด
ชอบขึ้นตามที่ดินเย็น ๆ ตามที่รกร้างทั่วๆ ไป และที่มีอิฐปูนเก่า ๆ ผุ ๆ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ตำแยแมว เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง และมีขนาดเล็กเนื้อภายในอ่อน และไม่แข็งแรง ลำต้นสูง
ประมาณ 2 ฟุต เท่านั้น ใบตำแยแมว ออกใบเดี่ยว มีขนาดเล็กรูปมนรี ปลายใบเรียวเล็ก ขอบใบเป็น
จักอยู่รอบใบ มีสีเขียว และใบใหญ่กว่าใบพุทราเล็กน้อยดอกตำแยแมว จะออกดอกรอบ ๆ ลำต้น
ลักษณะของดอกจะคล้าย ๆ กับใบอ่อนที่มีขนาดเล็ก แต่พอบานเต็มที่แล้วใบอ่อนนี้ก็ยังติดอยู่ไม่ร่วง
ผลตำแยแมว รูปกลม ขนาดเล็ก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมื่อผลแก่แตกได้ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
พบขึ้นตามธรรมชาติในบริเวณที่มีพื้นดินเย็น หรือที่รกร้างข้างทาง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ, ต้น, ราก
ใบตำแยแมว ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดเล็ก (ใหญ่กว่าใบพุทราเล็กน้อย) ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี รูปไข่ หรือรูปกลมโต ปลายใบมนหรือแหลมเล็กน้อย โคนใบสอบ ส่วนขอบใบหยักเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียว ด้านบนมีขนขึ้นปกคลุม
ดอกตำแยแมว ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ รอบ ๆ ลำต้น ส่วนยอดของช่อดอกเป็นดอกเพศเมีย ลักษณะของดอกจะคล้ายกับใบอ่อนที่มีขนาดเล็ก แต่เมื่อบานเต็มที่แล้วใบอ่อนนี้ก็ยังคงติดอยู่และไม่ร่วง มีใบประดับหยักเป็นซี่ฟัน มีขนปกคลุม แต่ละใบประดับจะหุ้มห่อดอก 2-6 ดอกข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตำแยแมวทั้งต้นสดและต้นแห้งจะมีสารจำพวก alkaloid, acalyphine, tannin, vestin, volatile oil แต่ถ้าเป็นวัตถุดิบที่ส่งมาจาทางแอฟริกาใต้ ซึ่งพบรายงานอยู่ใน Petelot reports จาก Remington & Roets พบว่าสามารถที่จะแยกได้สาร Cyanoginitie glucoside, Quibrachitol และ Triacetonamine เป็นต้น ตำแยแมว แมวจะชอบกินราก แต่ถ้าเป็นกัญชาแมว แมวจะชอบกินใบ
สรรพคุณของตำแยแมว1. ต้นมีสรรพคุณทำให้อาเจียน2. ใช้เป็นยาช่วยขับเสมหะ ขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบ เสมหะในโรคหอบหืด ด้วยการใช้ใบสด ๆ นำมาสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้ว ให้เหลือเพียง 2 ถ้วยแก้ว ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วย เช้าและเย็น3.ช่วยแก้อาการไอ4. ใช้เป็นยารักษาโรคหอบหืด ภูมิแพ้ ด้วยการถอนทั้งต้นและราก นำมาต้มกับน้ำดื่มสัก 1 แก้ว ใช้ดื่มเมื่อมีอาการ แก้วเดียวก็หาย หรือจะนำมาโขลกผสมกับน้ำซาวข้าว กรองใส่ผ้าขาวบางให้ได้น้ำข้น ๆ 1 แก้ว แล้วดื่มก็มีสรรพคุณดีเช่นกัน 5. ต้น ราก ใบ หรือทั้งต้นหากนำมารับประทานในปริมาณมากจะทำให้คลื่นเหียนอาเจียน และทำให้ระคายเคืองทางเดินอาหาร6. ลำต้นที่อ่อน ๆ ใช้เป็นยาล้างเมือกในท้องหรือทำความสะอาดทางเดินอาหาร ด้วยการนำต้นสดทั้งต้นมาคั้นเอาแต่น้ำ ซึ่งน้ำที่ได้นี้จะใช้เป็น purgative7. ต้น ราก และใบมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย ยาระบาย8. ใบใช้เป็นยาขับพยาธิ ขับพยาธิเส้นด้าย ด้วยการนำใบสดมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะสำหรับเด็ก ๆ หรือนำมาต้มกิน หรือจะใช้ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำผสมกับกระเทียมก็ได้9. ต้นหรือใบนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาถอนพิษเมาเบื่อในทางเดินอาหาร10.ใบใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำผสมกับเกลือแกง ใช้ทาบริเวณที่เป็น11.ใบแห้งนำมาป่นให้ละเอียดใช้โรยรักษาแผลเนื่องจากนอนมาก12.ใบใช้เป็นยาทาแก้โรค rheumatism ได้13.ใบสดนำไปตีหรือฟาดเบา ๆ ตามตัวหรือบริเวณที่ถูกพิษคันจากต้นตำแยตัวเมีย จะช่วยทำให้หายจากอาการคันได้14.แพทย์แผนไทยบางพื้นที่จะใช้รากตำยาแมวกะเพียงเล็กน้อย นำมาต้มกับน้ำ 3-4 แก้วจนเดือน ใช้ดื่มก่อนอาหารมื้อไหนก็ได้วันละ 1 แก้ว เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกายให้แข็ง ช่วยกระจายเลือดลม แก้อาการปวดเมื่อย และช่วยทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้นอีกด้วยข้อควรระวัง : ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้มากจนเกินขนาด เพราะจะทำให้อาเจียน ส่วนต้นและรากมีฤทธิ์ทำให้ช่องทางเดินอาหารเกิดอาการระคายเคืองได้ คนพื้นบ้านจึงนำมาต้มกินเพื่อเป็นยาขับเสมหะ
ที่มา : http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/03/J6467310/J6467310.html
http://www.oknation.net/blog/ddstory/2011/04/29/entry-1
http://www.m-culture.in.th
http://www.samunpri.com/?p=5397
http://www.petsabuy.com/article/
http://www.vcharkarn.com/vcafe/47436
เรียบเรียง : เพจทาสแมว (cyclone_prince)