เมื่อพูดถึงแมวไทยหลายคนก็คงรู้และเดาได้ไม่ยาก "แมวไทย" คือ แมวที่มีถิ่นกำเนิด หรือเกิดในประเทศไทย แมวไทยเป็นแมวที่เฉลียว ฉลาด ขี้อ้อน เอาใจเก่ง ตามบันทึกสมุดข่อยของไทย
หลายคนคงสงสัย ว่าสมุดข่อยคืออะไร ผมเองก้เช่นกันสงสัยว่าสมุดค่อยคืออะไร ทำไมต้องสมุดข่อ เลยหาข้อมูลอ่านตามเวบต่างๆ สรุปสั้นๆ ได้คือ สมัยก่อน สมัยโบราณคนไทยจะบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ทำมาจากกระดาษสา กระดาษข่อย แต่กระดาษข่อยจะนิยมมากที่สุด จึงพากันเรียกว่า "สมุดข่อย" เป็นแผ่นกระดาษที่ทบกันไปกันมา เขียนได้ทั้งสองด้าน
และมีการจดบันทึก แมวไทยมีทั้งหมด 23 ชนิด ตามความเชื่อโบราณ แบ่งเป็นแมวให้คุณ 17 ชนิด และ แมวร้ายให้โทษอีก 6 ชนิด ยังเหลือให้พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 6 ชนิดคือ วิเชียรมาศ สีสวาด ศุภลักษณ์ โกญจา แซมเสวตร และ ขาวมณี
หลายคนคงสงสัย ว่าสมุดข่อยคืออะไร ผมเองก้เช่นกันสงสัยว่าสมุดค่อยคืออะไร ทำไมต้องสมุดข่อ เลยหาข้อมูลอ่านตามเวบต่างๆ สรุปสั้นๆ ได้คือ สมัยก่อน สมัยโบราณคนไทยจะบันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ทำมาจากกระดาษสา กระดาษข่อย แต่กระดาษข่อยจะนิยมมากที่สุด จึงพากันเรียกว่า "สมุดข่อย" เป็นแผ่นกระดาษที่ทบกันไปกันมา เขียนได้ทั้งสองด้าน
และมีการจดบันทึก แมวไทยมีทั้งหมด 23 ชนิด ตามความเชื่อโบราณ แบ่งเป็นแมวให้คุณ 17 ชนิด และ แมวร้ายให้โทษอีก 6 ชนิด ยังเหลือให้พบเห็นในปัจจุบันนี้มี 6 ชนิดคือ วิเชียรมาศ สีสวาด ศุภลักษณ์ โกญจา แซมเสวตร และ ขาวมณี
แมวไทย ๒๓ ชนิด
แมวให้คุณ๑๗ ชนิด
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- ลักษณะสีขน : ขนสั้นแน่นสีขาว หรือสีน้ำตาลอ่อน มีแต้มสีครั่ง หรือสีน้ำตาลไหม้ที่บริเวณใบหน้า หูทั้งสองข้าง เท้าทั้งสี่ หางและที่อวัยวะเพศ (ทั้งแมวเพศผู้และแมวเพศเมีย) รวม 9 แห่ง ขณะที่อายุยังน้อย หรือเป็นลูกแมว สีขนจะออกสีครีมอ่อนๆ หรือขาวนวล พอโตขึ้นสีจะค่อยๆ เข้มขึ้นตามลำดับจนเป็นสีน้ำตาล (สีลูกกวาด)
- ลักษณะของส่วนหัว : รูปหัวไม่กลม หรือแหลมเกินไป หน้าผากใหญ่และแบน จมูกสั้น หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
- ลักษณะของนัยน์ตา : ตามีสีฟ้า
- ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อย
ขนยาวเกินไป มีแต้มสีไม่ครบทั้ง 9 แห่ง แต้มสีอื่นที่ไม่ใช่สีน้ำตาลไหม้ นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่นๆ ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นเกินไป (เมื่อยืนขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- ลักษณะสีขน : ขนสั้น สีน้ำตาลเข้มคล้ายสีสนิม (สีทองแดง) บริเวณส่วนหู ใบหน้า ปลายขา หาง จะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าบริเวณลำตัวทั่วๆ ไป
- ลักษณะของส่วนหัว : ค่อนข้างกลมและกว้าง หนวดมีสีเหมือนลวดทองแดง หูใหญ่
- ลักษณะของนัยน์ตา : แมวชนิดนี้จะมีดวงตาออกเป็นลักษณะเหลืองๆ หรือออกสีอำพัน หนวดของแมวศุภลักษณ์จะมีสีแวววาวเหมือนกับลวดทองแดงเลยทีเดียว
- ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายหางแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขาวยาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อย
ขนยาวเกินไป สีอ่อนเกินไป มีแต้มสีขาวปน เช่น ที่บริเวณหน้าอก หรือช่องท้อง มีไม่สม่ำเสมอ เช่น มีลายเห็นเป็นทางตามลำตัว โดยเฉพาะตามใบหน้า ขาและหาง นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
แมวมาเลศ “แมวโคราช”
(คนสมัยโบราณมีความเชื่อว่า แมวสีสวาดเป็นแมวนำโชคลาภของคนโคราช แมวสีสวาดเคยประกวดชนะเลิศในระดับโลกมาแล้วในปี พ.ศ. 2503 ที่สหรัฐอเมริกา เป็นแมวตัวเมียชื่อว่าสุนัน และเป็นที่นิยมของชาวต่างประเทศมาก จึงนับว่าแมวไทยได้ทำชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยเป็นอันมาก)
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- ลักษณะสีขน : ขนสั้น สีสวาด (silver blue) ทั่วทั้งตัวและเป็นสีสวาดตั้งแต่เกิดจนตาย
- ลักษณะของส่วนหัว : หัวเมื่อดูจากด้านหน้าจะเป็นรูปหัวใจ หน้าผากใหญ่และแบน หูตั้ง ในแมวตัวผู้หน้าผากมีรอยหยักทำให้เป็นรูปหัวใจเด่นชัดมากขึ้น หูใหญ่ตั้ง ปลายหูมน โคนหูใหญ่ ผิวหนังที่บริเวณจมูกและริมฝีปากสีเงิน หรือม่วงอ่อน
- ลักษณะของนัยน์ตา : นัยน์ตาสีเขียวสดใสเป็นประกาย หรือสีเหลืองอำพัน ขณะยังเป็นลูกแมวตาจะเป็นสีฟ้า เมื่อโตขึ้นจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด และเมื่อเติบโตเต็มที่ตาจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวใบไม้ หรือสีเหลืองอำพัน
- ลักษณะของหาง : หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อย ๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อย
ขนยาวเกินไป มีสีอื่นปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป (เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูกไม่ดี
(แมวสายพันธุ์โกนจา มีลักษณะคล้ายกับแมวสายพันธุ์ต่างชาติอีกสายพันธุ์หนึ่ง คือ บอมเบย์)
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- ลักษณะสีขน: ขนสั้น สีดำตลอดทั้งตัว
- ลักษณะของส่วนหัว: รูปหัวกลมไม่ใหญ่มาก หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
- ลักษณะของนัยน์ตา: นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม (สีเหลืองอมเขียว)
- ลักษณะของหาง: หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อย ๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
ลักษณะที่เป็นข้อด้อย
ขนยาวมากเกินไป ขนมีสีอื่นปะปน นัยน์ตาสองข้างเป็นคนละสี หรือเป็นสีอื่น ตาเอียง จมูกหัก หูไม่ตั้ง หางสั้นมากเกินไป ( เมื่อยืดขาหลังให้ขนานกับหาง ความยาวของหางสั้นกว่าขาเกิน 3 นิ้ว ) หางขอด หางหงิกงอ หางสะดุด ปลายหางคด ดุเกินไป เลี้ยงลูก
“แมวนิลรัตน์”
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวนิลรัตน์ เป็นแมวที่มีสีดำสนิททั้งตัว ขนเป็นมันแวววาว นอกจากนั้น เล็บ ลิ้น ฟัน และนัยน์ตา ยังเป็นสีดำอีกด้วย หางเรียวยาว ตวัดได้ถึงศีรษะค่อนข้างหายาก หากใครเลี้ยงไว้จะได้ทรัพย์สินเพิ่มพูน
(ปัจจุบัน ได้สูญพันธุ์แล้ว)
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมววิลาศ มีสีดำเกือบทั้งตัว ขนเรียบ ยกเว้นใบหูทั้ง 2 ข้าง ปากล่างลงมาถึงหน้าอก ปลายเท้าทั้ง 4 และจากท้ายทอยบนหลังจนถึงปลายหางมีสีขาว หางเรียวยาว นัยน์ตาสีเข้ม รูปร่างสวยงามน่ารัก ใครเลี้ยงจะได้เป็นเจ้าคนนายคน มีทรัพย์สินบริบูรณ์
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
“แมวเก้าแต้ม”
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวเก้าแต้ม เป็นแมวสีขาว มีสีดำแต้มสีดำรวมเก้าแห่ง คือ บริเวณหัว คอ โคนขาหน้าและโคนขาหลังหลังทั้ง 4 ข้าง ไหล่ทั้ง 2 ข้าง และโคนหาง ลักษณะแต้มสีดำนี้จะเป็นวงกลมหรือปื้นเหลี่ยมก็ได้ ปลายหางเรียวยาว สีขาว ใครได้แมวเก้าแต้มไว้เลี้ยงดูก็จะทำให้การค้าขายรุ่งเรือง ร่ำรวย คนไทยโบราณมักเลี้ยงไว้ในพระราชสำนัก
(ปัจจุบันหายาก ที่เป็นพันธุ์แท้)
“รัตนกำพล”
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวรัตนกำพล มีขนสีขาวดั่งหอยสังข์ยกเว้นบริเวณลำตัวมีสีดำคาดไว้ นัยน์ตาสีทอง ตามความเชื่อ ถ้าใครเลี้ยงไว้จะมียศถาบรรดาศักดิ์ และมีอำนาจบารมี
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- นิลจักร เป็นแมวสีดำอีกชนิดหนึ่ง บริเวณลำคอมีขนขาวเป็นวง เหมือนมีจักรหรือพวงมาลัยคล้องคอ ใครเลี้ยงไว้ จะมากด้วยทรัพย์สินเงินทอง
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
“มุลิลา”
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวมุลิลา แมวมุลิลานี้ เป็นแมวขนสีดำ ขนเรียบเป็นมัน แต่บริเวณสองหูเป็นสีขาว นัยน์ตาสีเหลืองราวกลีบดอกเบญจมาศ แมวชนิดนี้ ตำราว่าให้เลี้ยงได้เฉพาะพระสงฆ์ ไม่ควรเลี้ยงตามบ้าน
เหตุผลนั้นคงเป็นเพราะบทกวีที่ว่า “หนึ่งด่างสองหูโดยหมาย ตำราท่านทาย ว่าควรจะเลี้ยงแต่สงฆ์ เล่าเรียนสิ่งใดมั่นคง มิได้ลืมหลงสำเร็จดังความปรารถนา”
ตำราท่านว่าไว้ เจ้าแมวชนิดนี้ พระสงฆ์ควรจะเลี้ยง ช่วยให้มีจิตใจตั้งมั่นในการเล่าเรียนไม่ออกนอกลู่นอกทาง เล่าเรียนสำเร็จตามปรารถนา
ตำราท่านว่าไว้ เจ้าแมวชนิดนี้ พระสงฆ์ควรจะเลี้ยง ช่วยให้มีจิตใจตั้งมั่นในการเล่าเรียนไม่ออกนอกลู่นอกทาง เล่าเรียนสำเร็จตามปรารถนา
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวกรอบแว่น “อานม้า”
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- กรอบแว่น หรือ อานม้า เป็นแมวมีขนสีขาวทั้งตัว ยกเว้นกลางหลังนั้นจะมีสีดำเหมือนอานม้าอยู่ และบริเวณขอบตาทั้งสองข้างเป็นสีดำ เหมือนกรอบแว่นตา ใครเลี้ยงไว้จะมีค่ามหาศาล และทำให้มีเกียรติยศชื่อเสียง
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวปัดเสวตร“ปัดตลอด”
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวปัดเสวตร (อ่านว่า แมว-ปัด-สะ-เวด) หรือ ปัดตลอด แมวชนิดนี้มีขนสีดำเป็นมันราบเรียบ ยกเว้นปลายจมูกจนถึงปลายหางมีขาว ดวงตามีสีเหลืองดั่งพลอยสะท้อนแสง ใครเลี้ยงไว้จะช่วยชูชื่อเสียงวงศ์ตระกูลให้เป็นที่รู้จักทั่วไป
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวกระจอก
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- ลักษณะสีขน ขนสั้น สีดำ มีขนสีขาว รอบจมูก
- ลักษณะของส่วนหัว รูปหัวกลมไม่ใหญ่มาก หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
- ลักษณะของนัยน์ตา นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม (สีเหลืองอมเขียว)
- ลักษณะของหาง หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวสิงหเสพย์
(แมวสิงหเสพย์ หรือ แมวโสงหเสพย แมวชนิดนี้มีขนสีดำทั้งตัว แต่มีสีขาวอยู่บริเวณริมฝีปาก จมูกและรอบคอ นัยน์ตาสีเหลืองทอง ใครเลี้ยงไว้จะทำให้มีสมบัติเพิ่ม)
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- ลักษณะสีขน ขนสั้น สีดำ มีขนสีขาวรอบจมูก และที่คอ
- ลักษณะของส่วนหัว รูปหัวกลมไม่ใหญ่มาก หูใหญ่ ตั้งสูงเด่นบนส่วนหัว
- ลักษณะของนัยน์ตา นัยน์ตาสีดอกบวบแรกแย้ม (สีเหลืองอมเขียว)
- ลักษณะของหาง หางยาว ปลายแหลมชี้ตรง โคนหางใหญ่และค่อยๆ เล็กเรียวกลมไปจนสุดปลายหาง ขายาวเรียวได้สัดส่วนกับลำตัว
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวการเวก
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวการเวก เป็นแมวดำอีกชนิดหนึ่ง แต่ไม่ดำหมดทั้งตัว จะมีแต่ปลายจมูกที่มีแต้มสีขาวเล็กน้อย นัยน์ตาทั้งสองข้างสีเหลืองอำพันสดใส ถ้าได้เลี้ยงจะนำโชคลาภมาให้เจ้าของเปลี่ยนฐานะขึ้นไปเรื่อยๆ
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวจตุบท
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวจตุบท เป็นแมวสีดำ นอกจากปลายเท้าขึ้นมาจนถึงข้อพับทั้งสี่ข้างเป็นสีขาว นัยน์ตาเป็นสีเหลืองคล้ายดอกโสน ตำราว่าแมวชนิดนี้คนธรรมดาไม่ควรเลี้ยง ควรเลี้ยงเฉพาะราชนิกูล หรือเชื้อพระวงศ์เท่านั้น
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวแซมเสวตร
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวแซมเสวตร แปลว่า “แซมสีขาว” เป็นแมวชนิดนี้มีขนสีดำ แซมด้วยสีขาวไปทั้งตัว แต่ขนบางและค่อนข้างสั้น รูปร่างบางเพรียว ตามีสีเขียวเหมือนแสงหิ่งห้อย เดิมทีเคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ได้พบอีกครั้ง
(ปัจจุบันหายากมาก)
แมวร้ายให็โทษ ๖ ชนิด
แมวทุพลเพศ
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวทุพลเพศ เป็นแมวร้ายชนิดหนึ่ง มีสีขาวหม่น หางขอด หรือม้วน นัยน์ตาสีแดงเหมือนเลือด ชอบขโมยปลากินในตอนกลางคืน ใครเลี้ยงไว้จะเกิดความเดือดร้อนเป็นประจำ
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวพรรณพยัคฆ์
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวพรรณพยัคฆ์ หรือ แมวลายเสือ มีลักษณะคล้ายเสือ มีขนสีมะกอกเขียว หรือมะกอกแดง หยาบกระด้าง นันย์ตาสีแดงดั่งสีเลือด เสียงร้องโหยหวนเหมือนเสียงผีโป่งร้องตามป่าเขา ชอบหลบซ่อนตามที่มืดในเวลากลางวัน ไม่ควรนำมาเลี้ยง เพราะจะทำให้เกิดความเดือดร้อน
*เคยเลี้ยงแมวลายเสือ แต่ไม่ใช่พรรณพยัคฆ์แท้ แต่มีนิสัยดุ และเมื่อโตเต็มที่จะชอบออกไปหาของดิบกินนอกบ้าน ชอบจับหนู ดุร้ายเมื่อหวงเหยื่อ และหนีออกจากบ้านในที่สุด…
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวหิณโทษ
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- แมวหิณโทษ แมวเพศเมียอีกชนิดที่ไม่ควรเลี้ยง แม้ว่าจะมีลักษณะดี ขนสวยงาม เข้ากับเจ้าของได้ดี แต่มีข้อเสียคือ ยามตั้งท้องครั้งใด ลูกแมวมักจะตายในท้องเสมอ ใครเลี้ยงไว้จะนำภัยพิบัติมาสู่บ้าน
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวกอบเพลิง
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
แมวกอบเพลิง เป็นแมวที่ชอบอยู่ตามลำพังตามยุ้งข้าว ตามป่าไม่ค่อยจะพบคน เวลาพบคนมักกระโดดหนี ชอบทำตัวลึกลับ ให้โทษแก่ผู้ที่นำมาเลี้ยง
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
แมวเหน็บเสนียด
- แมวเหน็บเสนียด เป็นแมวที่พิการมาตั้งแต่กำเนิด โคนหางเป็นสีด่าง เวลานั่งมักเอาหางซ่อนไว้ใต้ก้นเหมือนค่างในป่า มีนิสัยโหดร้าย เที่ยวไล่กัดแมวตัวอื่นอยู่เสมอ ถ้านำมาเลี้ยงจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
(ปัจจุบันได้สูญพันธุ์แล้ว)
*************************
แมวขาวมณี
(แมวขาวมณี หรือ ขาวปลอดเป็นสายพันธุ์ที่พบเห็นได้มากสุดในปัจจุบัน เป็นแมวไทยโบราณที่ไม่ได้มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย จึงเชื่อว่าเป็นแมวที่เพิ่งกำเนิดในต้นยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นิยมเลี้ยงไว้ในราชสำนักครั้งหนึ่งในสมัยรัชการที่5 แมวชนิดนี้เป็นที่โปรดปราณมาก ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงกันเป็นคู่เพื่อให้ผลัดกันทำความสะอาดขน เป็นแมวที่ค่อนข้างเชื่อง เหมาะสำหรับการเลี้ยงเป็นเพื่อนได้เป็นอย่างดี)
ลักษณะที่เป็นข้อเด่น
- สีขนและผิวกายขาวสะอาด ขนสั้น นุ่ม รูปร่างลำตัวยาวขาเรียว ทรงเพียวลม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป หัวไม่กลมโต แต่เป็นทรงสามเหลี่ยมคล้ายหัวใจ หน้าผากแบนใหญ่ หูขนาดใหญ่และตั้งตรงจมูกสั้น ดวงตาจะรีเล็กน้อยนัยน์ตาเป็นสีฟ้าหรือเหลืองอำพันสีใดสีหนึ่งเมื่อนำแมวขาวมณีตาสีฟ้า ผสมกับแมวขางมณีตาสี อำพัน ลูกที่ออกมาจะมีตาสองสี คือ สีฟ้าข้างหนึ่งและสีเหลืองอำพันข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยในแมวขาวมณีแทบทุกตัวจะมีจุดด้อย เช่น ถ้ามีตาสองสีมักมีตาข้างหนึ่งที่ไม่ดี อาจมองเห็นไม่ชัดหรือมองไม่เห็นเลย ถ้าแมวตาสีฟ้ามักจะหูพิการ หรือไม่ได้ยินเสียงมากนัก และแมวตาสีเหลืองอำพันมักมีต่อมขนที่ไม่ดี
ลักษณะที่เป็นข้อด้อย
- ความไม่ขาวปลอด มีสีใดสีหนึ่งแซมเข้ามา รวมถึงตาสองข้างเป็นคนละสีกัน (Odd eyes) หรือเป็นสีอื่นสีใดที่ไม่ใช่สีฟ้าหรือเหลืองอำพัน ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ (อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้นกลับนิยมแมวขาวมณีที่มีตาคนละสีมากกว่าตาสีเดียว) เช่นเดียวกับขนที่ยาวมากเกินขนาด หางคด หางขอด หางงอและ หางสั้น
ที่มาแมวไทย 23 ชนิด: /https://jaruwunak.wordpress.com/แมวไทย-๒๓-ชนิด
เรียบเรียง : cyclone_prince (เพจทาสแมว)
เรียบเรียง : cyclone_prince (เพจทาสแมว)