ยาเขียวหอม
วัตถุส่วนประกอบ ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ใบสันพร้าหอม รากแฝกหอม เปราะหอม จันทน์เทศ จันทน์แดง ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง เนระพูสี พิษนาศน์ มหาสดำ
รากไคร้เครือ ดอกพิกุล เกสรบุนนาค เกสรสารภี เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 1 ส่วน
จันทน์เทศ
สารเคมีที่สำคัญ ในส่วนของน้ำมันหอมระเหย พบสารเคมี ได้แก่ camphor alpha-pinene, camphene,linalool จัดเป็นสารอนุพันธ์ของ Terpenoids
myristicin, eugenol จัดเป็นสารในกลุ่ม phenylpropanoids
ในลูกจันทน์เทศพบ camphor alpha-pinene และ camphene รวมกันมากถึง 80%
จันทน์แดงหรือจันทน์หอม
แก่นจันทน์แดงมีสารที่เป็นอนุพันธ์ของ Terpenoids เป็นองค์ประกอบ
สรรพคุณ ลำต้น ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้ปวดท้อง และบำรุงหัวใจ เนื้อไม้และแก่น แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน บำรุงกำลัง
พิษนาศน์ รสขมขื่นเอียนหวานเล็กน้อย ดับพิษกาฬ แก้ไข้ ดับพิษตัดจับ แก้ไข้เชื่อมซึม แก้คลื่นเหียนอาเจียน บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน บำรุงกำลัง แก้ไข้ ใบ บำรุงผิวพรรณ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้จุกเสียด
ข้อบ่งใช้ในแมวและสุนัข
1. ใช้เมื่อมีไข้ ตัวร้อน
2. ใช้แทนยาลดไข้แผนปัจจุบัน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้ยาโดยเฉพาะในแมว 3. ใช้ลดไข้ขณะที่เป็นโรคตับ
4. ใช้ลดไข้ ร่วมกับการรักษาโรคหัดสุนัข และแมว
5. ใช้ลดความร้อนในร่างกาย ระหว่างการใช้เคมีบำบัด
6. ใช้ลดความร้อน และอุณหภูมิในร่างกายเมื่อเกิดแผลอักเสบจากมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งอื่นๆ
วิธีการใช้
ชนิดเม็ด นน.น้อยกว่า 3 กก. กินครั้งละ 1 เม็ด
นน. 3-5 กก. กินครั้งละ 2-3 เม็ด
นน.5-10 กก. กินครั้งละ 3-5 เม็ด
นน. เกินกว่า 10 กก. กินครั้งละ 7 เม็ด
ข้อแนะนำ
***ทุกตำหรับ และยี่ห้อจะมีจันทน์เทศเป็นส่วนประกอบ ในกรณีที่มีไข้สูง เนื่องจากพยาธิเม็ดเลือด ***(สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยถ้าไม่ใช้นานเกินไป)
ที่มา : https://www.facebook.com/HealthyPetsClub