เมื่อพูดถึงแมวไทยอีกสายพันธุ์หนึ่งที่พบมากในปัจจุบัน คือขาวมณี หรือขาวปลอด (KHAOMANEE) เป็นแมวไทยโบราณที่ไม่ได้มีบันทึกไว้ในสมุดข่อย จากการสืบค้นเว็บต่างๆ ของผมเองพบว่า ไม่ได้มีหลักฐานอะไรที่บ่งชัดเจนมาเจ้าขาวมฯีนี้มีต้นกำเนิดมาจากไหน หรือสืบสายพันธุ์มาได้อย่างไร แต่มีการพบเห็นเจ้าขาวมณีนี้ ในต้นยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นิยมเลี้ยงไว้ในราชสำนักครั้งหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเจ้าขาวมณี เป็นแมวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดปรานมากเป็นพิเศษถึงขั้นส่งเสริมให้มีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายทั้งในวัง และข้าราชบริหาร ขุนนางน้อยใหญ่ แมวชนิดนี้เป็นที่โปรดปราณมาก ในต่างประเทศนิยมเลี้ยงกันเป็นคู่เพื่อให้ผลัดกันทำความสะอาดขน เป็นแมวที่ค่อนข้างเชื่อง เหมาะสำหรับการเลี้ยงเป็นเพื่อนได้เป็นอย่างดี
ลักษณะเด่นของขาวมณีคือสีขนและผิวกายขาวสะอาด ขนสั้น นุ่ม รูปร่างลำตัวยาวขาเรียว ทรงเพียวลม ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป (ถ้าทำหมันแมวก็จะอ้วนเป็นเรื่องปกติ) หัวไม่กลมโต แต่เป็นทรงสามเหลี่ยมคล้ายหัวใจ หน้าผากแบนใหญ่ หูขนาดใหญ่และตั้งตรงจมูกสั้น ดวงตาจะรีเล็กน้อยนัยน์ตาเป็นสีฟ้าหรือเหลืองอำพันสีใดสีหนึ่งเมื่อนำแมวขาวมณีตาสีฟ้า ผสมกับแมวขางมณีตาสี อำพัน ลูกที่ออกมาจะมีตาสองสี คือ สีฟ้าข้างหนึ่งและสีเหลืองอำพันข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะที่ถูกควบคุมโดยยีนด้อยในแมวขาวมณีแทบทุกตัวจะมีจุดด้อย เช่น ถ้ามีตาสองสีมักมีตาข้างหนึ่งที่ไม่ดี อาจมองเห็นไม่ชัดหรือมองไม่เห็นเลย ถ้าแมวตาสีฟ้ามักจะหูพิการ หรือไม่ได้ยินเสียงมากนัก และแมวตาสีเหลืองอำพันมักมีต่อมขนที่ไม่ดี
จุดด้อยอีกข้อของแมวขาวมณีคือความไม่ขาวปลอด มีสีใดสีหนึ่งแซมเข้ามา รวมถึงตาสองข้างเป็นคนละสีกัน (Odd eyes) หรือเป็นสีอื่นสีใดที่ไม่ใช่สีฟ้าหรือเหลืองอำพัน ก็ไม่เป็นที่ยอมรับ (อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้นกลับนิยมแมวขาวมณีที่มีตาคนละสีมากกว่าตาสีเดียว) เช่นเดียวกับขนที่ยาวมากเกินขนาด หางคด หางขอด หางงอและ หางสั้น
แมวขาวมณี ได้เข้าสู่สหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1999 โดยเจเน็ท โฮลเซ่น หญิงชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้มีตาสองสีและมีผมสีอ่อน เพื่อเป็นของขวัญแก่ลูกสาวบุญธรรมชาวไทย ที่ก็เป็นผู้พิการทางหู ปัจจุบันก็มีผู้เพาะพันธุ์รายนี้เพียงรายเดียวเท่านั้นในสหรัฐอเมริกา
มาถึงเจ้าขาวมณีของผมบ้างที่ผมได้มาโดยบังเอิญและเลี้ยง แต่แรกเริ่มผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเจ้าเหมียวน้อยที่ผมเก็บมาเลี้ยงนั้น คือพันธุ์อะไร พยายามค้นหาข้อมูลและสอบถามจากหมอแมว(สัตวแพทย์) จนได้ความว่ามันคือขาวมณีนี่เอง ตอนเด็กๆ เจ้าเหมียวมันมีขนสีดำแซมขึ้นมา ผมเองก็เลยไม่คิดว่ามันคือเจ้าขาวมณี แต่เริ่มโต ขนดำมันเริ่มหายไป จนตอนนี้มันขาวไปทั้งตัว แต่น่าเสียดาย ที่ตอนเก็บมาเลี้ยงมันเป็นแผล เลยมีแผลเป็นจนถึงทุกวันนี้
แมวขาวมณีกับวงการแมวในระดับสากล
ตอนนี้แมวขาวมณีของไทยเริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในระดับโลก โดยแหล่งใหญ่ที่สุดในตอนนี้คือประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษและประเทศในแถบยุโรป ซึ่งมีสมาคมแมวที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลคือ TICA นั้นได้อนุญาตให้ขึ้นทะเบียนแมวขาวมณีเป็นแมวพันธุ์แท้ และจัดให้มีการประกวดในระดับสากลแล้ว ส่วนอีกค่ายที่มีอิทธิพลในวงการแมวโลกก็คือ CFA นั้นก็เปิดช่องว่าถ้ามีฟาร์ม 5 แห่ง แจ้งเสนอชื่อเป็นผู้เพาะพันธุ์แมวขาวมณี เขาก็จะเปิดโอกาสให้เราขึ้นทะเบียน และมีโอกาสที่จะบรรจุลงในสายพันธุ์แมวที่เข้าร่วมประกวดได้เช่นกัน
TICA - The International Cat Association (based in USA, affiliated societies around the world) Website : http://www.tica.org/
TICA เราเรียกว่า ทิก้า เป็นสมาคมใหญ่อีกสมาคมหนึ่งของอเมริกาที่มีสมาชิกทั่วโลกและจัดการประกวดไปทั่วโลกโดยแบ่งออกเป็นโซนคล้าย CFA
TICA เป็นสมาคมจดทะเบียนแมวพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (the world's largest genetic registry of pedigreed cats) โดยสามารถจดทะเบียนแมวได้แทบทุกสายพันธุ์ แม้แต่สายพันธุ์ที่ CFA ไม่ยอมรับอย่างเช่น เบงกอล มันชกิ้น หรือแมวไทยอย่าง ไทย(วิเชียรมาศแบบบ้านเรา) หรือ ขาวมณี เอง ก็ได้รับการยอมรับจากสมาคมนี้ รวมถึงมีการยอมรับสายพันธุ์ใหม่ๆเข้าไปพิจารณาอยู่เสมอ และสมาคมนี้ยังรับจดทะเบียนแมวบ้าน(Household pet) โดยสามารถประกวดเก็บคะแนนเพื่อรับ Title(ตำแหน่ง) ได้อีกด้วย
TICA มีกฏการจดทะเบียนแมวที่ไม่เคร่งครัดเท่า CFA แต่ยังถือว่าต้องจดตามสายพันธุ์นั้นๆ โดยส่วนที่ TICA ยอมรับได้มากกว่า CFA คือเรื่องของสีขน เช่น สีช็อกโกแลต ลาเวนเดอร์ ไลแลค Color-point ฯลฯ แต่ในส่วนของสายพันธุ์ก็ยังถือว่าเข้มงวดอยู่ในระดับหนึ่ง โดยจะแบ่งกลุ่มที่สามารถผสมได้ออกมาและแยกแยะตามลักษณะขนของตัวนั้นๆ เช่น American Shorthair และ American Wirehair จะจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน โดย 2สายพันธุ์นี้สามารถ Crossbreed ได้ ลูกที่เกิดมาจะดูลักษณะขนเพื่อจดเป็น Shorthair(ขนตรงปกติ) หรือ Wirehair(ขนหยิก) เป็นต้น
สายพันธุ์แมวที่ TICA ยอมรับ มีทั้งหมด 74 สายพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น
จากการแบ่งแมวตามลักษณะขนดังที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้การแบ่งแมวขนยาว-ขนสั้นของ TICA ไม่เหมือน CFAด้วย โดยTICAจะแบ่งตามความยาวของขน ไม่สนใจว่าจะเป็นพันธุ์ไหน เช่น Exotic Shorthair เป็นขนสั้น, Scottish fold Longhair เป็นขนยาว, Somali เป็นขนยาว เป็นต้น
กล่าวง่ายๆคือ TICA นั้น
- Championship Breeds คือ สายพันธุ์ที่สามารถประกวดเพื่อเก็บคะแนนชิงตำแหน่งได้ มีทั้งหมด 61 สายพันธุ์
- Non Championship Breeds คือ Household Pet สามารถเก็บแต้มเพื่อชิงตำแหน่งได้ แบ่งเป็น แมวเด็กและแมวโต
- Advanced New Breeds คือ สายพันธุ์ในระดับรองลงมา สามารถประกวดได้แต่ไม่สามารถชิงไตเติ้ลได้ (ขาวมณีจัดอยู่ในกลุ่มนี้ค่ะ) สายพันธุ์เหล่านี้ยังต้องทำตามกฏของ TICA เพื่อให้ยอมรับขึ้นไปเป็น Championship Breeds มีทั้งหมด 6 สายพันธุ์
- Preliminary New Breeds คือ สายพันธุ์ในระดับถัดมาจาก Advanced New Breeds สามารถประกวดได้แต่ไม่สามารถชิงไตเติ้ลได้เช่นกัน สายพันธุ์เหล่านี้ยังต้องทำตามกฏของ TICA เพื่อให้ยอมรับขึ้นไปเป็น Advanced New Breeds มีทั้งหมด 7 สายพันธุ์
*สามารถดูรายละเอียดสายพันธุ์ได้จากหน้านี้ http://www.tica.org/public/breeds.php- เปิดกว้างในการยอมรับสายพันธุ์และสีขน (แม้บางสายพันธุ์ยอมรับใน CFA แต่ TICA ไม่ยอมรับ แต่จำนวนยังน้อยกว่าที่ TICA ยอมรับแต่ CFA ไม่ยอมรับ จึงยังถือว่า TICA นั้นเปิดกว้างมากกว่า CFA - ใช้ลักษณะของขนในการแบ่งสายพันธุ์และหมวดหมู่- เปิดโอกาสให้แมว Household Pet มีเวทีประกวด ได้ชิงตำแหน่งเหมือนแมวพันธุ์ (แต่ไม่รวมและไม่เหมือนของแมวพันธุ์)TICA ยอมรับแมวหลากหลายสายพันธุ์ แต่ยังยึด Standard ในการบรีดเพื่อให้ได้พันธุ์แท้อยู่ ทำให้สมาคมนี้เป็น "The world's largest genetic registry of pedigreed cats, and the world's largest registry of household pets" ตามที่เค้ากล่าวมานั่นเอง
ในบ้านเราอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับสมาคมนี้สักเท่าไหร่ แต่ในช่วงหลังนี้เริ่มมีหลายฟาร์มที่มีแมว TICA เข้ามามากขึ้น การรับประกันความแท้ของแมวที่มีใบเพ็ด TICA นั้นถือว่าน่าเชื่อถือพอๆกันกับ CFA เพราะ TICA รับจดแมวพันธุ์แท้ ซึ่งแยกจาก Household Pet อย่างชัดเจน เพียงแต่สีบางสี, การ Crossbreed บางกลุ่ม, สายพันธุ์ใหม่ๆที่เป็น Hybrid หรือ Mutation ไม่เป็นที่ยอมรับใน CFA เท่านั้นเอง
อน smile
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ขาวมณี
https://www.facebook.com/Flavorofcat/posts/675463285829854:0
เรียบเรียง : cyclone_prince (เพจทาสแมว)