วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

  • วันจันทร์, มิถุนายน 01, 2558
  • 1 comment
เมื่อเจ้าเหมียวกลายเป็นคุณแม่มือใหม่ ทาสแมวทั้งหลายเคยมีปัญหากับการเตรียมตัวรับมือกับเจ้านายที่กลายเป็นคุณแม่ ครั้งแรกกับการเลี้ยงแมวแล้วแมวท้อง และเป็นท้องแรก กังวลมากไหม ผมก็เช่นกัน กังวลทุกอย่าง เจ้าเหมียวจะแท้งไหม เจ้าเหมียวจะเป็นอันตรายไหม จะต้องพาไปหาหมอหรือเปล่า จะคลอดเองได้ไหม ทาสอย่างเราจะช่วยอะไรบ้าง จะเห็นหลายๆ เว็บบอกลักษณะอาการของแมวท้องไว้เยอะมาก แต่สิ่งที่ผมจะเขียนลงใน blogger เอามาจากประสบการณ์ของผมเอง




เริ่มด้วยการผมเองอยากจะทำฟาร์มแมวเล็กเลยหาซื้อแมวมาเลี้ยง และแล้วความฝันก็เป้นจริงเมื่อเจ้าเหมียวถึงวัยเจริญพันธุ์ หลังจากที่เห็นเจ้าเหมี่ยว featuring กัน แต่ผมเองก้ไม่คิดว่ามันจะท้อง จนสังเกตุอาการผิดปกติของท้องเริ่มโต กินเยอะ กินทุกอย่าง นมเริ่มตั้งเต้า สอบถามทุกคนที่เลี้ยงเจ้าเหมียว ที่เคยมีแมวเคยตั้งท้อง  มาดูหลักการณ์ของการตั้งท้องแมวกันก่อน โดยผมเอาความรู้บางส่วนนี้มาจาก จากเว็บโรงพยาบาลสัตว์ สัตวแพทย์ 4


การตั้งท้องในแมว แมวเป็นสัตว์ที่การตกไข่จะต้องถูกกระตุ้นจากการผสมพันธุ์ระยะเวลาในการตั้งท้องของแมวจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผสมไปจนถึงวันที่คลอดซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลา 56-69 วัน  
สิ่งที่สังเกตได้ว่าแมวตั้งครรภ์หรือไม่ ได้แก่  3 สัปดาห์หลังจากได้รับการผสมหัวนมจะเปลี่ยนสีเป็นสีชมพูมากขึ้นและขยายขนาดมากขึ้น   ช่วงประมาณ 4 สัปดาห์ แมวจะกินจุมากขึ้นและสัตวแพทย์จะสามารถเริ่มคลำพบตัวลูกได้   เมื่ออายุครรภ์ 6 สัปดาห์ขนาดท้องจะดูใหญ่จนสังเกตได้ชัดเจน   และอายุครรภ์ 7 สัปดาห์ แม่แมวจะเริ่มมีสัญชาตญาณการมองหาที่คลอดลูก เนื่องจากลูกแมวจะเริ่มมีการเคลื่อนตัว
สำหรับอาหาร ผมก็ค้นหาข้อมูลในและสอบถามเพื่อนๆ ที่เลี้ยงแมวก็ได้ความว่าอาหารสูตรแม่แมวและลูกแมวของรอยัลคานินสูตร แม่แมวและลูกแมว(ไม่ได้เป็นพรีเซนเตอร์นะครับแต่คิดว่ามันน่าจะเป็นประโยชน์กับแมวเรา)


การเตรียมตัวแม่แมว
การเตรียมตัวแม่แมวที่สำคัญ คือ อาหาร เพราะอาหารที่ได้รับเข้าไปต้องใช้ในการเจริญเติบโตของลูกแมวในท้องด้วยทำให้แม่แมวต้องการอาหารมากกว่าแมวที่ไม่ได้ตั้งท้อง 25-50 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งไปกว่านั้นในช่วงที่แมวให้นมลูกก็ต้องการอาหารมากกว่าแมวที่ไม่ได้ตั้งท้อง 200 เปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน  
 
และแล้วก็ได้เวลาพาเจ้าเหมียวไปพบหมอแมว เอาจริงๆ ผมไม่รู้เจ้าเหมียวของผมมันท้องได้กี่วันแล้ว และเดาไม่ได้ด้วย ตัดสอนใจพาไปหาหมอดีที่สุด เมื่อไปหาหมอไม่รอรี จับเจ้าเหมียวไปเอ็กซ์เรย์ ดูเจ้าเหมียวน้อยๆ ที่อยู่ในท้องผลปรากฏว่ายังไม่เห็นรู้ หมอบอกว่าน่าจะท้องประมาณ 40-45 วัน อีก 2 อาทิตย์มาตรวจสอบอีกครั้ง ผ่านไป 2 ทิตย์ได้พาเจ้าเหมียวไปตรวจอีกครั้ง คราวนี้สมใจตื่นเต้น เห็นเจ้าเหมียวน้อยๆ ล่ะหมอบอกเจ้าเหมียวมีเจ้าเหมียวน้อยในท้อง 4 ตัว ดีใจสุดๆ อีกไม่เกิน 1-2 อาทิตย์คลอดชัวร์ คราวนี้ภาระกิจต่อไปคือการเตรียมตัวการคลอดของเจ้าเหมียวกัน

การเตรียมสถานที่สำหรับคลอดลูกแมว
เตรียมกล่องกระดาษแข็งขนาด 50x50 เซนติเมตร   ตัดด้านหนึ่งของกล่องกระดาษให้เป็นรูกว้างประมาณ 20 เซนติเมตรโดยให้สูงจากพื้นกล่องประมาณ 9 เซนติเมตร  ปูพื้นกล่องด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือผ้า   วางไว้ในมุมที่เงียบสงบของบ้าน  ให้แมวเข้าไปสำรวจและทำความคุ้นเคยก่อนที่จะมีการใช้งานจริง    อาจใช้กระดาษทิชชู่แผ่นใหญ่สำหรับใช้ในครัวฉีกให้เป็นชิ้นเล็กๆเพื่อทำให้ที่นอนนุ่มและสะดวกในการเก็บทิ้งเมื่อมีการเปื้อนของเหลวจากการคลอดลูก   ควรทำให้กล่องสามารถเปิดฝาด้านบนได้   หากในห้องอุณหภูมิต่ำอาจเพิ่มไฟกกไว้ด้านบน

ซวยล่ะเราเลียงคอนโดจะหามุมสงบยังไงดีล่ะทีนี้ แถมมีแมวตัวอื่นอีก 3 ตัวผลปรากฏว่าได้ตามรูปนี้คือที่ที่เตรียมให้เจ้าเหมียว

ตอนนี้ก็ไม่ได้ไปไหนแบบนานๆ เพราะห่วงเจ้าเหมียว มันจะคลอดอย่างไรจะคลอดวันไหน วันๆ ก็อ่านแต่เว็บ หาข้อมูลเพื่อเตรียมการคลอดของเจ้าเหมียว เพราะเราก็เป็นทาสแมวมือใหม่เหมือนกัน ก็หาข้อมูลได้แบบนี้



อาการแมวใกล้คลอด
แม่แมวจะไม่กินอาหาร จะกินแต่น้ำ   มีพฤติกรรมทำรังหาที่คลอดลูกมักกัดเศษวัสดุหรือใช้นิ้วเท้าตะกุยพื้นและสิ่งของต่างๆ ที่รองพื้น เช่นผ้าหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยเพื่อจะทำเป็นที่นอนรองคลอด  หัวนมแม่แมวจะขยายใหญ่ขึ้นเมื่อบีบหัวนมดูจะมีนมน้ำเหลืองบางรายการอาจมีการอาเจียนและอุณหภูมิของร่างกายลดลง 3 องศา(ประมาณ 98 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 36องศาเซลเซียส)แม่แมวจะมีอาการกระวนกระวาย  แม่แมวส่วนมากมักหลบไปคลอดในรังที่เจ้าของทำไว้แต่แม่แมวบางตัวอาจแสดงอาการเบ่งให้เจ้าของเห็นที่กระบะทรายและหันไปดูบริเวณด้านท้ายของตัวและส่งเสียงร้อง  

การช่วยคลอดเบื้องต้น
หลังจากคลอดแล้วแม่แมวจะกัดฉีกถุงหุ้มตัวลูกและเลียบริเวณหน้าและตัวของลูกเพื่อกระตุ้นการหายใจและกัดสายสะดือกินรกเข้าไป   กรณีที่แม่แมวไม่ทำการช่วยเหลือลูกที่คลอด   ควรทำการช่วยเหลือโดยรีบฉีกถุงหุ้มตัวลูกออกและดูดของเหลวที่อยู่ในช่องปากและจมูกของลูกแมวออกด้วยลูกยางและใช้ผ้าขนหนูเช็ดตัวเร็วๆเพื่อเป็นการกระตุ้นการหายใจ   จากนั้นผูกและตัดสายสะดือโดยผูกห่างจากตัวลูกประมาณ 1 นิ้วและแต้มบริเวณสายสะดือที่ถูกตัดด้วยเบตาดีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 

อาการคลอดยาก
 ส่วนมากปัญหาคลอดยากมักไม่พบในแมว   แม่แมวที่ตั้งท้องครั้งแรกอาจแสดงอาการเบ่งนานกว่าแม่แมวที่เคยคลอดลูกแล้ว  หากแม่แมวมีการเบ่งอย่างรุนแรงเกิน 1 ชั่วโมงโดยไม่มีการคลอดให้ถือว่าเป็นการคลอดยาก   ระยะห่างของการคลอดลูกแต่ละตัวใช้เวลานานไม่เท่ากัน   กรณีที่ระยะห่างระหว่างการคลอดลูกแต่ละตัวนานกว่า 4-6 ชั่วโมงถือว่าเป็นภาวะคลอดยากเช่นกันควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์ อาจต้องผ่าคลอด

แต่อย่างไรก็ตาม เราก้ยังไม่เจอกับสถานะการณ์เลย คงต้องรอให้ถึงวันคลอดของเจ้าเหมียวจริงๆ แต่ก็วางใจส่วนนึงเนื่องจากปรึกษาหมอแมว หมอแมวบอกว่า เวลาที่มันคลอดไปยุ่งกับมันให้มันคลอดเอง แต่ถ้าดูแล้วอาการไม่ได่ดีค่อยพาไปโรงพยาบาลแต่ปกติแล้วมันจะคลอดเองได้โดยธรรมชาติและมีสัญตญาณของความเป็นแม่อยู่แล้ว ผมก็หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทาสแมวทั้งหลายอย่างผมนะครับ
เรียบเรียง : cyclone_prince (เพจทาสแมว)

1 ความคิดเห็น:

Total Pageviews

Recent Comments

Popular Posts

Recent Posts

Text Widget