สืบเนื่องมาจาก เช้านี้ 08/06/2015 เห็นเพื่อนๆ หลายคนในโลกโซเชี่ยวเองบ่นเรื่อของฝนตกกระหน่ำเมืองกรุง น้ำท่วมขัง และการจราจร ติดขัด พิการไปทั่วกรุง ผมเลยจะเขียน blogger เกี่ยวกับ แมว สายฝน และ น้ำ เรามาดูกันว่า 3 คำนี้มันเกี่ยวกันอย่างไร
เริ่มด้วยแมว กับน้ำ แมวจัดเป็นสัตว์จำพวกฟีไลน์ (ตระกูลเฟลิดี) เช่นเดียวกับเสือโคร่ง และจากัวร์ ซึ่งโปรดปรานการกระโจนลงไปแหวกว่ายอยู่ในน้ำ และแมวไม่ได้กลัวน้ำ อย่างน้อยก็ไม่ใช่แมวทุกตัวในโลกก็แล้วกัน โดยทั่วไป ดูเหมือนว่าแมวจากเขตร้อนจะชอบน้ำ เช่น เสือ สิงโต จากัวร์ แมวป่าโอเซล็อตแห่งอเมริกาใต้ แมวป่าจาคารุนดิ และเสือปลาที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำและหนองบึงตั้งแต่อินเดียลงมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เสือปลาจับปลาโดยการตะปบเหยื่อจากน้ำ บางครั้งก็ถึงขนาดดำน้ำหาปลาเองด้วย เหตุนี้ตีนของมันจึงมีพังผืดเพื่อประโยชน์ในการนี้
แมวบ้านบางชนิดที่รักน้ำได้แก่ เตอร์กีช แวน (Turkish Van) และเตอร์กีช แองโกรา (Turkish Angora)ถ้าอย่างนั้นแล้วใครกันที่เกลียดน้ำ?
จะทำให้ขนมันเป็นสังกะตังไ่ม่สวยงาม และมันก็ไม่ชอบวิธีอาบน้ำแบบที่คนอยากจะอาบให้มันด้วย เพราะแมวมันสามารถทำความสะอาดตัวเองได้ด้วยการเลีย น้ำลายของแมวเป็นสบู่ธรรมชาติอย่างดี ที่สามารถลดความมันที่ขน แถมที่ลิ้นของมันยังเหมือนมีหนามเล็ก ๆ ทำหน้าที่คล้ายแปรงซึ่งทำให้ขนของมันเรียบสวยแถมสะอาดอีกด้วย ซึ่งแมวเองจะมีสัญชาตญาณ การเอาตัวรอดของมันได้ทุกสถานการณ์ แต่ในเมื่อเจ้าเหมียวต้องมาอยู่กับมนุษย์อย่างเราๆ เราก็จำเป็นต้องอาบน้ำทำความสะอาดให้มัน เพื่อที่ทั้งเจ้าเหมียวและเจ้าทาสจะได้มีความสะอาดด้วยกัน
นอกจากแมวจะเข้ามาเกี่ยวข้องในพิธีเกิดและพิธีแต่งงานในวัฒนธรรมไทยแล้ว แมวยังเข้ามามีส่วนร่วมในอีกประเพณีสำคัญของไทยที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน นั่นคือ พิธีแห่นางแมวขอฝน คนไทยในสมัยก่อนเชื่อว่า แมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับศักดิ์สิทธิ์ สามารถเรียกฝนให้ตกลงมาได้ และเมื่อถึงฤดูฝน หากฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล
อันที่จริงแมวมันไม่กลัวน้ำหรอก เพียงแต่มันเป็นสัตว์ที่รักสะอาด การโดนน้ำจะทำให้ขนมันเปียก แล้วถ้ามีฝุ่นมีโคลนมาจับ
ผ่านไปแล้วนะครับ เราก็รุ้กันแล้วแมวกับน้ำ เกี่ยวห้องกันอย่างไร งั้นต่อไปเรามาดุ แมวกับสายฝน หรือกับฝน บ้างดีกว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร หลายคนคงกำลังนั่งคิด นอนคิด ว่ามันคืออะไรแมวตากฝน หรือแมวเปียกฝน แต่ไม่ใช่ครับมันคือ ประเพณีของไทยที่มีเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง มีมาช้านานและเป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศคงเป็นประเพณีอื่นไปไม่ได้นอกจาก ประเพณีแห่นางแมว ที่นิยมจัดขึ้นในปีที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูการหรือฝนแล้ง เพื่ออ้อนวอนขอให้ฝนตกลงมาสร้างความชุ่มชื่นแก่แผ่นดินและพื้นที่ทำนา ทำไร่
การแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน ซึ่งจำจัดทำขึ้นในปีใดที่ท้องถิ่นแห่งแล้งฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อของปู่ย่า ตายาย และบรรพบุรุษ
ความเชื่อ การแห่นางแมวภาคอิสาน
สำหรับความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีแห่นางแมวนั้น คนไทยมีความเชื่อว่าฝนตกลงมาเพราะเทวดา เมื่อฝนไม่ตกจึงต้องทำพิธีขอฝนกับเทวดา แต่บางความเชื่อกล่าวว่าเมื่อแผ่นดินแห้งแล้ง สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ มีควันและละอองเขม่าควันจะต้องขอน้ำจากเทวดามาช่วยล้างเพราะน้ำฝนเป็นน้ำของเทวดา เนื่องจาก เทโว แปลว่า ฝน นั่นเอง ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับแมวนั้น คนไทยเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่มีอำนาจลึกลับ ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อนำมาทำพิธีแล้วจะช่วยเรียกฝนให้ตกลงมาได้ หรือถ้าเป็นความเชื่อของชาวอีสานจะมีความเชื่อว่าเมื่อฝนไม่ตกให้ใช้สัตว์ที่มีสีเดียวกับเมฆเรียกฝน จะทำให้ฝนตกลงมาได้เช่นกันและสัตว์ประเภทเดียวที่มีสีเมฆคือ แมวสีสวาท
บางความเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธีแห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้งของนางแมว
ชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้น้ำในการเกษตรกรรมจะต้องนำนางแมว (แมวตัวเมีย) โดยคัดเลือกแมวไทยพันธุ์สีสวาด หรือแมวโคราช หรือ แมวมาเลศ นำนางแมวมาใส่กระบุงหรือตะกร้าหรือเข่งก็ได้ สาเหตุที่ต้องเลือกแมวพันธุ์นี้เพราะเชื่อว่า สีขนแมวเป็นสีเดียวกับเมฆ จะทำให้เกิดฝนตกได้ แต่บางแห่งก็ใช้แมวดำ ก่อนที่จะนำนางแมวเข้ากระบุง คนที่เป็นผู้อาวุโสที่สุด จะพูดกับนางแมวว่า "นางแมวเอย …ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ" พอหย่อนนางแมวลงกระบุงแล้ว ก็ยกกระบุงนั้นสอดคานหามหัวท้าย จะปิดหรือเปิดฝากระบุงก็ได้ แต่ถ้าปิดต้องให้นางแมวโดนน้ำกระเซ็นใส่ ตอนที่สาดน้ำด้วยจะต้องถูกต้องตามหลักประเพณี
แห่นางแมว อิสาน อีกแบบหนึ่ง
ให้เอาแมวมา 1 ตัว ใส่ในกระทอ มีคนหามตั้งคายขัน 5 หามประกอบพิธีป่าวสัคเค เทวาเชิญเทวดาลงมาบอกกล่าวขอน้ำฝนกับเทวดาว่า จะขอฝนด้วยการใช้พิธีแห่นางแมว แล้วสั่งให้พวกหามแมวแห่เซิ้งไปตามถนนในหมู่บ้าน มีคนทั้งชาย หญิง และเด็กเดินถือดอกไม้ตามไปถึงเรือนหลังไหน คนในเรือนหลังนั้นก็เอาน้ำสาดมาใส่ทั้งแมวและคน เล่นเอาทั้งแมวทั้งคนหนาวไปตามๆ กัน ในบางแห่งจะมีการผูกเอวคนหัวล้าน 2 คน ทำฮึดฮัดจะชนกันตามกระบวนไปด้วย บางจุดก็หยุดให้หัวล้านชนกัน สลับคำเซิ้งชาวก็บ้านจะเอาน้ำรดแสดงไปเรื่อยๆ จะเซิ้งอย่างนี้เริ่มจาก 3 โมงเย็นจนถึง 2 ทุ่ม หรือรอบหมู่บ้านแล้วหยุด พอหยุดไม่นานฝนก็จะตกฟ้าแลบฟ้าร้องฟ้าผ่าตามมา
คำเซิ้ง
แต่ละท้องถิ่นไม่ค่อยเหมือนกัน แต่สิ่งที่รวมอยู่ในคำเซิ้งคือมีการพรรณนาถึงความแห้งแล้งและขอให้ฝนตกเหมือนกัน และเท่าที่ประมวลมาส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้
ตัวอย่าง คำเซิ้งในพิธีแห่นางแมว แบบที่ 1
"เต้าอีแม่นางแมว แมวมาขอไข่ ขอบ่ได้ขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์อดหัวแมวบ้าง บ่ได้ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา
บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา
เหล้าโทก็เอา แม่เม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก
ขอน้ำมนต์อดหัวแมวบ้าง บ่ได้ค่าจ้างเอาแมวข้อยมา
บ่ได้ปลาเอาหนูกับข้าว บ่ได้ข้าว เหล้าเด็ดก็เอา
เหล้าโทก็เอา แม่เม่าเอย อย่าฟ้าวขายลูก ข้าวเพิ่นปลูก
ลูกน้อยเพิ่นแพง ตาเวนแดง ฝนแทงลงมา ตาเวนต่ำ
ฝนหน่ำลงมา ตาเวนตก ฝนตกลงมา
ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง
ฮ่งเบิงๆ ฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว
ฝนหน่ำลงมา ตาเวนตก ฝนตกลงมา
ดังเค็งๆข้ามดงมานี้แบ้นบักเลิกแบ้นพ่ออีเถิง
ฮ่งเบิงๆ ฝนเทลงมา ฝนบ่ตกข้าวไฮ่ตายเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกข้าวนาตายแล้งเหมิดแล้ว
ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเหมิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา เท่งลงมาฝนเท่งลงมา
กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊”
ฝนบ่ตกกล้าแห้งตายพรายเหมิดแล้ว
ตกลงมาฝนตกลงมา เท่งลงมาฝนเท่งลงมา
กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊ กุ๊กกู๊”
ตัวอย่าง คำเซิ้งนางแมว แบบที่ 2
เซิ้งอันนี้เผิ่นว่า เซิ้งนางแมว ย่างเป็นแถวกะนางแมวออกก่อน
ไปตามบ่อนกะตามซอกตามซอย ไปบ่ถอยกะขอฝนขอฟ้า
เฮาคอยถ้าให้ฝนเทลงมา ตามประสาแมวโพงแมวเป้า
แมวดำกินปลาย่าง แมวด่างกินปลาแห้ง
ฝนฟ้าแล้ง กะขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์กะรดหัวแมวบ้าง
(ชาวบ้านก็สาดน้ำลงใส่)
เทลงมากะฝนเทลงมา ท่วมไฮ่ท่วมนา
ท่วมฮูปลาไหล ท่วมไม้โสงเสง
หัวล้านชนกันฝนเทลงมา (ซ้ำ)
ไปตามบ่อนกะตามซอกตามซอย ไปบ่ถอยกะขอฝนขอฟ้า
เฮาคอยถ้าให้ฝนเทลงมา ตามประสาแมวโพงแมวเป้า
แมวดำกินปลาย่าง แมวด่างกินปลาแห้ง
ฝนฟ้าแล้ง กะขอฟ้าขอฝน
ขอน้ำมนต์กะรดหัวแมวบ้าง
(ชาวบ้านก็สาดน้ำลงใส่)
เทลงมากะฝนเทลงมา ท่วมไฮ่ท่วมนา
ท่วมฮูปลาไหล ท่วมไม้โสงเสง
หัวล้านชนกันฝนเทลงมา (ซ้ำ)
ไม่ใช่แค่ภาพอีสานเท่านั้นที่เป็นมีพิธีการแห่นางแมวขอฝน แต่ยังมีภาคกลางด้วย
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี” เพลงโคราช กำปั่น บ้านแท่น เรียบเรียง : cyclone_prince (เพจทาสแมส)
ใช่เลยครับ มันแตกต่างกันตรงที่สายพันธุ์แมว หากเป็นแมวเขตร้อนบางสายพันธุ์ก็ชอบเล่นน้ำเหมือนกันนะ
ตอบลบ